ยาและอาหารที่ทำให้ฤทธิ์ของยาวาร์ฟารินเพิ่มขึ้น (Holbrook et al., 2005, pp.
1101-1102)
ยาต้านการติดเชื้อ
: Ciprofloxacin ,Cotrimoxazole ,Erythromycin ,Fluconazole
,Isoniazid ,Metronidazole ,Miconazole ,Clofibrate ,Diltiazem ,Fenofibrate
ยาระบบหัวใจและหลอดเลือด
: Piroxicam
ยาแก้ปวด
ยาต้านการอักเสบ : Alcohol (ถ้ามีปัญหาโรคตับร่วมด้วย)
,Entacapoone
ยากลุ่มอื่นๆ
: Anabolic steroids
อาหาร
: น้ำมันปลา มะม่วง
ฤทธิ์ของยาวาร์ฟารินจะเพิ่มขึ้นในผู้ป่วยที่รับประทานอาการที่มีปริมาณวิตามินเคต่ำ
การดื่มสุราเป็นครั้งคราว
อาหารและผลิตภัณฑ์เสริมอาหารหรือสมุนไพรที่นิยมรับประทานอาจเกิดปฎิกิริยากับวาร์ฟารินได้
เช่น น้ำแครนเบอร์รี่ เอนไซม์จากมะละกอ(Papain) มะละกอ กระเทียม แปะก๊วย ขิง วิตามินเอ วิตามันอี น้ำมันปลา น้ำมันระกำ
เมล็ดองุ่น เมล็ดป่าน/ปอ (Du Breuil & Umland,
2007)
อาหารและสมุนไพรที่มีผลเพิ่มการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
มีวิตามินเอและอีสูง อาจส่งเสริมการต้านการแข็งตัวของเลือด
- มะม่วงสุก
- มะละกอสุก
- ส้มโอ
- มะขาม
- แก้วมังกร
- กล้วยหอม
- ขนุนสุก
- หมากค้อ
- น้ำผลไม้เข้มข้น
- แอลกอฮอล์
ยาต้านการติดเชื้อ
: Griseofulvin ,Nafcillin ,Ribavirin ,Rifampin
ยาระบบหัวใจและหลอดเลือด
: Cholestyramine
ยาระบบประสาทส่วนกลาง : Barbiturates ,Carbamazepine
ยากลุ่มอื่นๆ
: Mercaptopurine
อาหาร
: อาหารทางสายยาง(Enteral feed) หรืออาหารที่มีวิตามินเคมาก
เช่น บรอคโคลี กะหล่ำปลี ผักคะน้า ผักกาดหอม ผักชีฝรั่ง ผักโขม และอาโวคาโด
อาหารและสมุนไพรที่มีผลลดการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน
มีวิตามินเคสูง มีฤทธิ์ต้านการทำงานของยาวาร์ฟาริน มีฤทธิ์ส่งเสริมการแข็งตัวของเลือด
มีวิตามินเคสูง มีฤทธิ์ต้านการทำงานของยาวาร์ฟาริน มีฤทธิ์ส่งเสริมการแข็งตัวของเลือด
แหล่งที่พบ วิตามินเคอยู่ในอาหารหลายชนิด
·
พืชผักที่มีใบเขียว เช่น ผักกะเฉด กะหล่ำปลี บล็อกโคลี่ คะน้า
หน่อไม้ฝรั่ง สาหร่ายทะเล
·
เครื่องในสัตว์
เช่น ตับหมู
·
น้ำมัน เช่น
น้ำมันถั่วเหลือง
น้ำมันตับปลา น้ำมันดอกคำฝอย น้ำมันมะกอก อื่นๆ เช่น นมวัว
เนยแข็ง ไข่แดง
ตัวอย่างอาหารที่ควรรับปะทาน
·
ข้าวต้ม
ปลากะพงนึ่งคื่นฉ่าย
·
ผักกวางตุ้งซอยใส่หมูบด
·
ก๋วยเตี๋ยวหลอดทรงเครื่องหมูสับ
·
ราดหน้าเส้นใหญ่คะน้าหมู
·
บะหมี่หมูแดง
ผักกวางตุ้ง
·
แกงจืดฟักหมูบด
·
แกงเขียวหวานลูกชิ้นปลากราย
·
อกไก่ผัดขิง
·
ผัดบวบหมูบด
·
ผัดถั่วงอก
·
แกงจืดตำลึงเต้าหู้หมูสับ
·
ปลานิลนึ่งราดพริก
·
ผัดกะหล่ำปลีซอยแครอท
ข้อควรระวัง
1.อาหารจาพวกผักใบเขียวอาจเกิดปฏิกิริยากับยาวาร์ฟาริน เนื่องจากอาหารดังกล่าวมีวิตามินเคสูงซึ่งมีผลต้าน
ฤทธิ์ของยา แต่ไม่ได้เป็นข้อห้ามในการกินผัก ควรกินปริมาณเท่าเดิมในแต่ละวัน
ไม่ควรเปลี่ยนแปลงปริมาณอาหารเหล่านี้
2.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือด
2.หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และงดการสูบบุหรี่ เนื่องจากมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือด
3.ยานี้มีผลต่อทารกในครรภ์ โดยอาจทำให้เด็กพิการได้
ดังนั้นควรคุมกำเนิด หากท่านต้องการมีบุตรควรปรึกษาแพทย์ก่อนทุกครั้ง
4.ยาวาร์ฟารินสามารถผ่านออกมาทางน้ำนมได้น้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถกินยาวาร์ฟารินระหว่างให้นมบุตรได้
5. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้ ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น ยาแก้ปวด เช่น Piroxicam, Indomethacin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Co-trimoxazole, Ciprofloxacin ยาที่ลดฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenytoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Rifampicin, Dicloxacillin หากท่านกินยาอื่นร่วมกับยาวาร์ฟาริน ควรแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง
6. ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาชุด ยาแผนโบราณ อาหารเสริมหรืออาหารสมุนไพรสกัดบางชนิด เช่น สารสกัดจากกระเทียม โสม ใบแปะก๊วย หรือสมุนไพรจีน เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือดได้ ดังนั้นท่านควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนกินยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมทุกครั้ง
4.ยาวาร์ฟารินสามารถผ่านออกมาทางน้ำนมได้น้อยมาก ดังนั้นจึงสามารถกินยาวาร์ฟารินระหว่างให้นมบุตรได้
5. ยาบางชนิดอาจมีผลต่อการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน ทำให้ระดับยาวาร์ฟารินในเลือดเปลี่ยนแปลงได้ ดังนี้ ยาที่เพิ่มฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น ยาแก้ปวด เช่น Piroxicam, Indomethacin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Co-trimoxazole, Ciprofloxacin ยาที่ลดฤทธิ์ของวาร์ฟาริน เช่น ยากันชัก เช่น Carbamazepine, Phenytoin ยาฆ่าเชื้อ เช่น Rifampicin, Dicloxacillin หากท่านกินยาอื่นร่วมกับยาวาร์ฟาริน ควรแจ้งให้แพทย์ หรือเภสัชกรทราบทุกครั้ง
6. ยาสมุนไพร ยาต้ม ยาหม้อ ยาลูกกลอน ยาชุด ยาแผนโบราณ อาหารเสริมหรืออาหารสมุนไพรสกัดบางชนิด เช่น สารสกัดจากกระเทียม โสม ใบแปะก๊วย หรือสมุนไพรจีน เป็นต้น ซึ่งอาจมีผลต่อระดับยาวาร์ฟารินในเลือดได้ ดังนั้นท่านควรปรึกษาแพทย์ หรือเภสัชกรก่อนกินยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมทุกครั้ง
อ้างอิง
ถาบันโรคทรวงอก
สถาบันเฉพาะทางด้านโรคปอดและหัวใจระดับนานาชาติ.ยาวาร์ฟาริน.ค้นเมื่อ 5 ตุลาคม
2561 จาก http://www.dms.moph.go.th/dmsweb/cpgcorner/Foodpatientwarfarin.pdfhttp://www.si.mahidol.ac.th/th/division/hph/admin/news_files/249_49_1.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น