ผลข้างเคียงของยา

                          วาร์ฟารินเป็นยาที่มีอุบัติการณ์การเกิดอาการไม่พึงประสงค์จากการใช้ยา (adverse drug reactions,ADRs) 
สูงโดยเฉพาะ
การเกิดภาวะเลือดออกผิดปกติ ที่เกิดขึ้น ได้แก่ เลือดออกตามไรฟัน จ้ำเลือดตามตัว เลือดออกในทางเดินอาหาร เลือดออกทาง ทวารหนัก อุจจาระมีสีคล้ำ เลือดออกที่ช่องคลอด ปัสสาวะมีเลือดปน และเลือดออกในสมองซึ่งทำให้ ถึงแก่ชีวิตได้ พบว่าภาวะเลือดออกผิดปกติมีความสัมพันธ์ กับอายุที่มากกว่า 65 ปี มีประวัติโรคหลอดเลือดสมอง มาก่อน มีประวัติเลือดออกในระบบทางเดินอาหาร และ การมีโรคร่วม คือ มีโรคไต หรือโลหิตจาง หากพบ ปัจจัยเสี่ยง 2 หรือ 3 อย่างนี้ทำให้อุบัติการณ์การเกิด ภาวะเลือดออกผิดปกติสูงขึ้น
ภาวะผิวหนังตายเน่า (skin necrosis or gangrene) เป็นอาการไม่พึงประสงค์รุนแรงซึ่งพบได้น้อยมากเพียงร้อยละ 0.01–0.1 โดยเกิดในเพศหญิงมากกว่า เพศชาย มีอัตรา 9 ต่อ 1 (คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล, 2549) เป็นอาการที่ผิวหนังร้อนแดง และเจ็บปวด ต่อมาจะเกิดการตายเน่าที่ผิวหนัง กล้ามเนื้อ และเซลล์ไขมัน ส่วนใหญ่แล้วมักเกิดขึ้นกับบริเวณที่มี ชั้นไขมันหนา เช่น แก้มก้น โคนขา และเต้านม ส่วน บริเวณอื่นที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น น่อง เกิดการติดเชื้อส่ง ผลให้ต้องตัดอวัยวะที่เกิดการตายของเนื้อเยื่อเหล่านั้นทิ้ง ผู้ป่วยที่เกิดภาวะเนื้อตายเน่าจากยาวาร์ฟาริน (warfarin necrosis) ร้อยละ 90 เป็นเพศหญิงโดยมักเกิดอาการ ขึ้นในระหว่างวันที่ 3–8 หลังจากเริ่มใช้ยาวาร์ฟาริน มีความสัมพันธ์กับผู้ป่วยที่ขาดโปรตีนซี
อาการไม่พึงประสงค์ที่ สำคัญอีกอาการหนึ่งซึ่งพบได้น้อย คือ purple-toe syndrome พบหลังจากได้รับยาวาร์ฟารินไปแล้ว 3–8 สัปดาห์ จะ มีอาการปวดนิ้วเท้าและมีการขาดเลือดไปเลี้ยง นิ้วเท้า จะเปลี่ยนเป็นสีม่วงหรือสีคล้ำ หากเกิดอาการไม่พึง ประสงค์นี้ขึ้นมักนำไปสู่ภาวะไตวายและถึงแก่ชีวิต (Gibbar-Clements, Shirrell, Dooley, & Smiley, 2000)
อาการไม่พึงประสงค์อื่น ๆ ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร ผมร่วง เม็ดเลือดขาวต่ำ ผื่นแพ้



อ้างอิง  
    ศุกลดี ช้อยชาญชัยกุล,พรทิพย์ มาลาธรรม และสุภาณี กาญจนจาร.(2551).การใช้ยาวาร์ฟารินในผู้สูงอายุ: กรณีศึกษาและการดูแล.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561 จาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2551/issue_03/07.pdf

ความคิดเห็น