กลไกการออกฤทธิ์ของยาวาร์ฟาริน(Warfarin)
วาร์ฟารินออกฤทธิ์โดยทำให้กลไกต้านการแข็งตัวของเลือดบกพร่อง
ทำให้เลือดแข็งตัวช้ากว่าปกติโดยยับยั้งการสร้างปัจจัย (factor) II, VII, IX, X ซึ่งเป็นปัจจัยที่ใช้วิตามินเคเป็นตัวร่วมในการสร้าง
โดยยับยั้งกระบวนการ cyclic interconversion ของวิตามินเค
ทำให้เกิดการสังเคราะห์ vitamin Kdependentclotting factor ที่ไม่สมบูรณ์
(partiallycarboxylated) และยังส่งผลต่อโปรตีนซี (protein
C)ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่ใช้ย่อยปัจจัย V, VIII และชะลอการสร้าง
thrombin และมีผลต่อโปรตีนเอส (protein S)เนื่องจากระดับของโปรตีนเอสจะขึ้นกับการทำงานของวิตามินเคและเป็นปัจจัยร่วมกับโปรตีนซี
ดังนั้น เมื่อระดับของโปรตีนเอสลดลง ระดับของโปรตีนซีก็จะลดลงด้วย
ส่งผลให้การทำงานของปัจจัยการแข็งตัวของเลือดผิดปกติไป (พันธุ์เทพ อังชัยสุขศิริ
และวิชัยอติชาตการ, 2548; Ansell et al., 2008) เภสัชพลศาสตร์ของยาวาร์ฟารินขึ้นอยู่กับปัจจัยการแข็งตัวของเลือดซึ่งแต่ละตัวมีค่าครึ่งชีวิตที่แตกต่างกัน
โดยปัจจัย VIIมีค่าครึ่งชีวิตสั้นที่สุด คือ 5 ชั่วโมง ขณะที่ปัจจัย IIหรือโปรทรอมบินมีค่าครึ่งชีวิตยาวที่สุด
คือ 60 ชั่วโมงดังแสดงระยะเวลาที่ยาวาร์ฟารินมีผลตามปัจจัยการแข็งตัวของเลือดชนิดต่าง
ๆ ตามตารางที่ 1 (ศรีจันทร์ พรจิราศิลป์, 2546) ระดับของยาวาร์ฟารินในเลือดจะสูงสุดที่ 90 นาที
หลังรับประทานยา ค่าครึ่งชีวิตโดยเฉลี่ยประมาณ 36–42 ชั่วโมง
(Ansell et al., 2008) ผลทางเภสัชพลศาสตร์ขึ้นกับอัตราการยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือด
โดยเฉลี่ยแล้วผลต้านการแข็งตัวของเลือดของยาวาร์ฟารินจะใช้เวลาหลังจากบริหารยาไปแล้ว
(duration effect) 2–5 วัน ค่า international normalized ratio (INR) จะเปลี่ยนแปลงเมื่อเวลาผ่านไป
24–36 ชั่วโมง หลังจากได้รับยาครั้งแรก
และให้ผลต้านการแข็งตัวของเลือดสูงสุด 72–96 ชั่วโมง(Horton
& Bushwick, 1999)
อ้างอิง
ศุกลดี ช้อยชาญชัยกุล,พรทิพย์ มาลาธรรม และสุภาณี กาญจนจาร.(2551).การใช้ยาวาร์ฟารินในผู้สูงอายุ:
กรณีศึกษาและการดูแล.[ออนไลน์].สืบค้นเมื่อวันที่ 6 กันยายน 2561
จาก https://med.mahidol.ac.th/nursing/jns/DocumentLink/2551/issue_03/07.pdf
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น